แผ่นที่มาฟาร์มผัก<< คลิกที่นี้
Tuesday, February 22, 2011
ผักไฮโดรโปนิกส์ Root Dipping Technique ย้ายมาโฟมที่ใหญ่ขึ้น
ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ปลูกมาแล้ว 22 วัน
ให้รากจุ่มน้ำอยู่แค่ ครึ่งเดียวพอ เพื่อให้มีรากอากาศ
ช่วงนี้ลมแรง เลย เอาท่อ pvc มาต่อเป็นโครง แล้วเอา
พาสติกคลุม เพื่อกันลมพัดต้นผักหัก
ปล. ปลูกวีธีนี้น้ำไม่ไหลหมุนเวียนในระบบ สามารถ ใช้ปั้มอากาศที่ใช้กับตู้ปลา
มาใส่ได้ พยายามอย่าให้แสงโดนน้ำ เพราะจะทำให้น้ำร้อน ทำให้ผักหายใจไม่ออก
จะโตช้า
หมายเหตุ ระบบนี้เหมาะกับผักไทย
แนะผู้ปลูกผักแบบไฮโดรโพนิกส์ การพรางแสงที่เหมาะสม ช่วยลดไนเตรท ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
การปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ หรือ การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน (Soilless Culture) เป็นการปลูกพืชรูปแบบใหม่ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างมากในหมู่เกษตรกร เนื่องจากคุณสมบัติหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเตรียมดิน การกำจัดวัชพืช หรือด้านผลผลิตที่สามารถทำการเพาะปลูกได้ต่อเนื่องตลอดปี และผลผลิตที่สม่ำเสมอ ทั้งปริมาณและคุณภาพ
หลักการสำคัญของการปลูกพืชเลียนแบบธรรมชาติ โดยวิธีที่เรียกว่าไฮโดรโพนิกส์ นั้น อยู่ที่การเตรียมสภาวะของธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ โดยใช้วัสดุอื่นทดแทนดิน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ปลูกในสารละลาย ปลูกแบบเติมอากาศ ปลูกแบบน้ำลึกหมุนเวียน ปลูกแบบให้สารอาหารไหลเป็นแผ่นฟิล์ม หรือ ปลูกในวัสดุปลูกต่าง ๆ อาทิ ทราย, กรวด, ฟองน้ำ, ขุยมะพร้าว แล้วให้สารละลายธาตุอาหารแก่พืช
แต่ อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ ให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรต้องมีความชำนาญในการดูแลและจัดการระบบ เพราะนอกจากปัญหาภายนอกอย่างวัสดุปลูกบางชนิดไม่ย่อยสลาย ซึ่งส่งผลต่อระบบโดยรวมแล้ว ปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นกับผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ คือ ปริมาณไนเตรทที่สะสมอยู่ในใบผัก ซึ่งมีปริมาณสูง เนื่องจากผักที่ปลูกในที่ร่มครึ้มนั้น จะมีอัตราการสังเคราะห์แสงน้อย ทำให้ไนเตรทไม่ได้ถูกนำไปใช้ จึงมาสะสมอยู่ที่ใบผัก ซึ่งไนเตรทนี้ถ้าไปสะสมอยู่ในร่างกายคนมาก ๆ ก็จะไปจับตัวกับออกซิเจนในเม็ดเลือด (เฮโมโกลบิน) ทำให้ตัวผู้บริโภคเป็นสีฟ้าและซีด และส่วนหนึ่งยังเปลี่ยนรูปเป็นสารที่ชื่อว่า ไนโทรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งรูปแบบหนึ่งด้วย
และ ปัญหาสำคัญดังกล่าว นี้เอง ได้กลายมาเป็นโจทย์ของงานวิจัยเรื่อง “ผลของการพรางแสงต่อผลผลิตและปริมาณไนเตรทตกค้างในผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดที่ ปลูกโดยไม่ใช้ดิน” ของคณาจารย์จากสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หัน ตรา นำโดย ผศ.กิตติ บุญเลิศนิรันดร์ ทั้งนี้ เพื่อหาหนทางแก้ไข ปัญหาการสะสมของไนเตรทซึ่งส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพของผู้บริโภค
โดย ผศ. กิตติ เปิดเผยว่า “ปัญหาไนเตรทตกค้างในผักที่ปลูกโดยระบบไฮโดรโพนิกส์นั้น เป็นปัญหาระยะยาว ที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะละเลย เพราะการที่จะทราบปริมาณ ไนเตรทที่สะสมในผักนั้น ต้องนำมาทดสอบในห้องทดลองด้วยเครื่อง Reflectometer RQflex เท่านั้น ซึ่งจากการทดสอบปริมาณไนเตรทตกค้างในพืชผักประเภทผักสลัด ได้แก่ ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด ซึ่งปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ ในห้องทดลอง ปรากฏว่า ปริมาณไนเตรทตกค้างมีค่อนข้างสูง เพราะโดยธรรมชาติ ผักกาดหอมเป็นพืชที่ต้องการแสงเต็มที่ตลอดวัน และอุณหภูมิการปลูกเฉลี่ยประมาณ 15-21 องศาเซลเซียส ฉะนั้นการปลูกผักกาดหอมในระบบไฮโดรโพนิกส์ จึงต้องมีการพรางแสงที่เหมาะสม เพื่อการสังเคราะห์แสงที่สมบูรณ์ ไม่มีปริมาณไนเตรท ตกค้าง
ตาม ปกติ การพรางแสง ในการปลูกผัก ระบบไฮโดรโพนิกส์ มักจะใช้สแลนด์หรือตาข่ายสีดำ เป็นเครื่องมือในการช่วยพรางแสง และเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะพรางแสงมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจากการศึกษาวิจัย เป็นอัตราที่สูงเกินไป ผักกาดหอมจึงสังเคราะห์แสงได้น้อย ส่งผลให้ไนเตรทไปสะสมที่ใบผักในปริมาณสูงขึ้น แต่ถ้าเกษตรกรสามารถลดอัตราการพรางแสงให้เหลือประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ได้ ผักกาดหอมจะสังเคราะห์แสงในอัตรามากขึ้น ทำให้ไนเตรทนั้นไปสะสมที่ใบผักในปริมาณที่ลดลง นอกจากนั้นจากการวิจัยครั้งนี้ยังพบว่า การพรางแสงมีผลทำให้ความสูงของต้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และความกว้างทรงพุ่มกว้างขึ้นอีกด้วย
สำหรับปัญหาสารพิษตกค้าง ในพืชผักนี้ กล่าวได้ว่า ผู้ที่รับผลกระทบจากปัญหานี้เต็ม ๆ คือ ผู้บริโภค ดังนั้น เกษตรกร ในฐานะผู้ผลิต จึงไม่ควรละเลยในการหาหนทางมาแก้ไข บรรเทาปัญหานี้ให้เบาบางลง ดังนั้น เกษตรกรผู้ใดสนใจ อยากทราบเทคนิคการพรางแสง รวมทั้งเทคนิคในการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์ เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ ศูนย์คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 60 หมู่ 3 ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา หมายเลขโทรศัพท์ 0-3532-3620 ในวันและเวลาราชการ.
ประอรพิชญ์ คัจฉวัฒนา
กองประชาสัมพันธ์ราชมงคล
ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=3642.0
หลักการสำคัญของการปลูกพืชเลียนแบบธรรมชาติ โดยวิธีที่เรียกว่าไฮโดรโพนิกส์ นั้น อยู่ที่การเตรียมสภาวะของธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ โดยใช้วัสดุอื่นทดแทนดิน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ปลูกในสารละลาย ปลูกแบบเติมอากาศ ปลูกแบบน้ำลึกหมุนเวียน ปลูกแบบให้สารอาหารไหลเป็นแผ่นฟิล์ม หรือ ปลูกในวัสดุปลูกต่าง ๆ อาทิ ทราย, กรวด, ฟองน้ำ, ขุยมะพร้าว แล้วให้สารละลายธาตุอาหารแก่พืช
แต่ อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ ให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรต้องมีความชำนาญในการดูแลและจัดการระบบ เพราะนอกจากปัญหาภายนอกอย่างวัสดุปลูกบางชนิดไม่ย่อยสลาย ซึ่งส่งผลต่อระบบโดยรวมแล้ว ปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นกับผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ คือ ปริมาณไนเตรทที่สะสมอยู่ในใบผัก ซึ่งมีปริมาณสูง เนื่องจากผักที่ปลูกในที่ร่มครึ้มนั้น จะมีอัตราการสังเคราะห์แสงน้อย ทำให้ไนเตรทไม่ได้ถูกนำไปใช้ จึงมาสะสมอยู่ที่ใบผัก ซึ่งไนเตรทนี้ถ้าไปสะสมอยู่ในร่างกายคนมาก ๆ ก็จะไปจับตัวกับออกซิเจนในเม็ดเลือด (เฮโมโกลบิน) ทำให้ตัวผู้บริโภคเป็นสีฟ้าและซีด และส่วนหนึ่งยังเปลี่ยนรูปเป็นสารที่ชื่อว่า ไนโทรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งรูปแบบหนึ่งด้วย
และ ปัญหาสำคัญดังกล่าว นี้เอง ได้กลายมาเป็นโจทย์ของงานวิจัยเรื่อง “ผลของการพรางแสงต่อผลผลิตและปริมาณไนเตรทตกค้างในผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดที่ ปลูกโดยไม่ใช้ดิน” ของคณาจารย์จากสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หัน ตรา นำโดย ผศ.กิตติ บุญเลิศนิรันดร์ ทั้งนี้ เพื่อหาหนทางแก้ไข ปัญหาการสะสมของไนเตรทซึ่งส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพของผู้บริโภค
โดย ผศ. กิตติ เปิดเผยว่า “ปัญหาไนเตรทตกค้างในผักที่ปลูกโดยระบบไฮโดรโพนิกส์นั้น เป็นปัญหาระยะยาว ที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะละเลย เพราะการที่จะทราบปริมาณ ไนเตรทที่สะสมในผักนั้น ต้องนำมาทดสอบในห้องทดลองด้วยเครื่อง Reflectometer RQflex เท่านั้น ซึ่งจากการทดสอบปริมาณไนเตรทตกค้างในพืชผักประเภทผักสลัด ได้แก่ ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด ซึ่งปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ ในห้องทดลอง ปรากฏว่า ปริมาณไนเตรทตกค้างมีค่อนข้างสูง เพราะโดยธรรมชาติ ผักกาดหอมเป็นพืชที่ต้องการแสงเต็มที่ตลอดวัน และอุณหภูมิการปลูกเฉลี่ยประมาณ 15-21 องศาเซลเซียส ฉะนั้นการปลูกผักกาดหอมในระบบไฮโดรโพนิกส์ จึงต้องมีการพรางแสงที่เหมาะสม เพื่อการสังเคราะห์แสงที่สมบูรณ์ ไม่มีปริมาณไนเตรท ตกค้าง
ตาม ปกติ การพรางแสง ในการปลูกผัก ระบบไฮโดรโพนิกส์ มักจะใช้สแลนด์หรือตาข่ายสีดำ เป็นเครื่องมือในการช่วยพรางแสง และเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะพรางแสงมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจากการศึกษาวิจัย เป็นอัตราที่สูงเกินไป ผักกาดหอมจึงสังเคราะห์แสงได้น้อย ส่งผลให้ไนเตรทไปสะสมที่ใบผักในปริมาณสูงขึ้น แต่ถ้าเกษตรกรสามารถลดอัตราการพรางแสงให้เหลือประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ได้ ผักกาดหอมจะสังเคราะห์แสงในอัตรามากขึ้น ทำให้ไนเตรทนั้นไปสะสมที่ใบผักในปริมาณที่ลดลง นอกจากนั้นจากการวิจัยครั้งนี้ยังพบว่า การพรางแสงมีผลทำให้ความสูงของต้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และความกว้างทรงพุ่มกว้างขึ้นอีกด้วย
สำหรับปัญหาสารพิษตกค้าง ในพืชผักนี้ กล่าวได้ว่า ผู้ที่รับผลกระทบจากปัญหานี้เต็ม ๆ คือ ผู้บริโภค ดังนั้น เกษตรกร ในฐานะผู้ผลิต จึงไม่ควรละเลยในการหาหนทางมาแก้ไข บรรเทาปัญหานี้ให้เบาบางลง ดังนั้น เกษตรกรผู้ใดสนใจ อยากทราบเทคนิคการพรางแสง รวมทั้งเทคนิคในการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์ เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ ศูนย์คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 60 หมู่ 3 ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา หมายเลขโทรศัพท์ 0-3532-3620 ในวันและเวลาราชการ.
ประอรพิชญ์ คัจฉวัฒนา
กองประชาสัมพันธ์ราชมงคล
ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=3642.0
Sunday, February 20, 2011
ผักไฮโดรโปนิกส์ แม่ปุ๋ย A B ในการปลูก hydroponics
ได้แม่ปุ๋ย A B ตอนอบรมการปลูก ที่งานเกษตรแฟร์ 54 ผสมตัว A ก่อน ทิ้งไว้สัก 30 นาที แล้วใส่ B หลังจากใส่แล้วคนให้ละลายทั่ว
สั้งซื้อ ปุ๋ย ไฮโดรโปนิกส์ A B แบบผงผสมได้ A 1 ลิตร B 1 ลิตร ราคา 250 ส่งแบบ ems
กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50
ลงกระถ่างได้ 20 วันจากงานเกษตรแฟร์ 54 จะถ่ายรูปอัพเดท พัฒนาการของกล้วยนี้ให้ ดูนะครับ
ลักษณะเด่นคือ เครือใหญ่ร้ำหนักมากกว่า 30 กิโลกรัม ( ไม่รวมก้านเครือ ) จำนวนหวีมากกว่า
10 หวี จำนวนต่อหวีประมาณ 18 ผล จำนวนผลต่อหวี 18 ผล ผลกล้วยใหญ่อ้วนน้ำหนักผลโดยเฉลี่ยประมาณ 140 กรัม/ผล
เทคโนโลยีการเกษตร
องอาจ ตัณฑวณิช ชมรมการจัดการทรัพยากรเกษตร www.ongart04@yahoo.com
กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50
เมื่อ ปีที่ผ่านมาในวงการกล้วยน้ำว้าฮือฮาถึงกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง พ่อค้าหน่อกล้วยตามงานเกษตรต่างๆ เอากล้วยน้ำว้าเครือขนาดใหญ่มาโชว์ให้ลูกค้าชมแล้วก็ขายหน่อ พร้อมขยายสรรพคุณซะเลอเลิศว่า ขนาดของเครือมีขนาดใหญ่ จำนวนหวีก็มากแต่ละหวีก็มีผลกล้วยมาก จึงทำให้มีคนซื้อกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องไปมากมาย เพราะเห็นขนาดใหญ่ของเครือและหวี ราคาค่อนข้างแพงถึงต้นละ 80-120 บาท ผมก็หลงซื้อมา เพราะหลงนิยายพ่อค้ากล้วยกับเขาด้วยเช่นกัน จนกระทั่งได้ไปเจอผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วย จึงรู้ว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องคือ อะไร เรื่องกล้วยๆ ไม่น่าต้มกันได้
อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส นักวิชาการเกษตร 8 ชำนาญการ ของสถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องกล้วยน้ำว้า เพราะอาจารย์เป็นผู้รวบรวมพันธุ์กล้วย โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าทุกสายพันธุ์ในประเทศไทย มาปลูกในสถานีวิจัยปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อการศึกษาและคัดสายพันธุ์ทำให้ทราบถึงความเป็นมาเป็นไปของกล้วยน้ำว้า ที่ปลูกกันอยู่ในบ้านเรา อาจารย์กัลยาณี บอกกับเราว่า "กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง เป็นชื่อทางเหนือ แปลว่า ขาว เพราะไส้กล้วยมะลิอ่องจะขาว แต่ทางเมืองนนท์จะเรียกกล้วยชนิดนี้ว่า กล้วยน้ำว้าสวน ซึ่งจะมีลักษณะลูกเล็กสั้นๆ ป้อมๆ ในแต่ละหวีมีไม่กี่ผล เครือมีขนาดเล็ก คนซื้อเลยกลายเป็นเหยื่อของคนขายพันธุ์ไม้ คนที่ยังไม่รู้ก็คิดว่ากล้วยมะลิอ่องเป็นกล้วยเครือใหญ่ เคยเห็นตามงานพ่อค้าก็เอากล้วยน้ำว้าเครือใหญ่มาแขวน แล้วบอกว่า กล้วยมะลิอ่อง ทำให้คนเข้าใจว่ากล้วยมะลิอ่องเป็นกล้วยเครือใหญ่ก็ซื้อหาเอาไปปลูกกัน ก็ไม่ได้ไปแย้งเขา" พอรู้เรื่องนี้ก็นึกภาพออกได้ว่า กล้วยมะลิอ่องนี้ก็เป็นกล้วยน้ำว้า ซึ่งเมื่อ 20 ปีก่อนมีขายในกรุงเทพฯ ขนาดลูกเล็กๆ ป้อมๆ อย่างที่อาจารย์ว่าจริง ชาวสวนแถบเมืองนนท์นำมาขาย เมื่อเทียบกับกล้วยน้ำว้าอื่นที่มีขนาดใหญ่ดูน่ากินกว่า ทำให้กล้วยน้ำว้าสวนดูเหมือนกับกล้วยเกร็นขนาดเล็กไม่น่าซื้อ กล้วยสวนของเมืองนนท์ก็เลยหายไป เพราะหวีดูไม่สวย แต่สาเหตุที่สำคัญน่าจะเป็นเพราะราคาที่ดินที่สูงขึ้น ทำให้เรือกสวนเมืองนนท์หายไป แต่ถ้าถามถึงความอร่อย กล้วยสวนจะมีรสชาติอร่อยกว่ากล้วยหวีใหญ่
ปรับปรุงพันธุ์กล้วยน้ำว้า
เพื่อการค้า
ด้วย การที่อาจารย์กัลยาณีเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกล้วยน้ำว้า จึงมีผู้ประกอบการรายหนึ่งเขามาปรึกษาเรื่องเกี่ยวกับกล้วยน้ำว้าว่า เขาทำกล้วยแผ่นอบส่งออกไปประเทศทางยุโรป ตอนแรกทำไม่มากนัก ส่งออกก็ไม่มีปัญหา แต่พอตอนหลังเพิ่มจำนวนส่งออกมากขึ้น มีปัญหาว่าทางยุโรปตีกลับเพราะหาว่าเอากล้วยแผ่นอบเก่าส่งไปให้ แต่ผู้ประกอบการรายนี้ยืนยันนอนยันว่าเป็นกล้วยใหม่ทำส่งไปให้ เพราะเขาเป็นผู้ทำและเป็นผู้ควบคุมการผลิตเองทั้งหมด อาจารย์กัลยาณีถามคำแรกเลยว่า คุณรู้จักกล้วยน้ำว้าแค่ไหน ผู้ประกอบการรายนี้บอกว่า ใครส่งกล้วยน้ำว้ามาผมก็ซื้อหมด ขอให้เป็นกล้วยน้ำว้า "ไม่ได้ค่ะ" อาจารย์กัลยาณีบอกกับเขา แล้วชี้แจงให้ฟังว่า "กล้วยน้ำว้าในประเทศไทยที่ได้ศึกษามี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้แดง กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้ขาว กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง สำหรับกลุ่มแรกคือ กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้แดงมีผลดก ไส้กลางข้างในค่อนข้างแข็งหรือมีความฝาดสูง เหมาะสำหรับเอาไปทำกล้วยเชื่อมหรือข้าวต้มมัด เพราะไส้จะค่อนข้างแข็งไม่เละ ถ้าเอาผลสุกไปทำกล้วยบวชชีจะมีรสฝาดเจือ ไม่ค่อยอร่อย และถ้าเอาไปทำกล้วยตากจะมีสีคล้ำเหมือนกล้วยเก่า อย่างที่ผู้ประกอบการรายนี้เจอปัญหา เพราะเอากล้วยน้ำว้าไส้แดงไปทำ ผู้ซื้อจึงตีกลับมาทั้งๆ ที่ทำใหม่ เพราะเอากล้วยน้ำว้าคละไส้ไปทำ ทั้งๆ ที่ทำเทคนิคเดียวกัน ล็อตเดียวกัน แต่สีมันต่างกัน ซึ่งเกิดจากกล้วยที่มีไส้ต่างกัน แต่กล้วยน้ำว้าไส้แดงนำไปทำกล้วยอบน้ำผึ้งได้"
กลุ่มที่สองคือ กล้วยน้ำว้าไส้ขาวและกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง อาจารย์กัลยาณีแนะนำให้ใช้ 2 พันธุ์นี้ สำหรับนำไปทำกล้วยแผ่นอบ โดยแนะนำว่า "กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเป็นกล้วยน้ำว้าไส้ขาว เมื่อนำไปทำเป็นกล้วยแผ่นอบสีจะเหลืองสวย ไม่เหลืองมากเหมือนกลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง ซึ่งกล้วยน้ำว้าไส้ขาวนี้เหมาะสำหรับทำกล้วยตาก กล้วยแผ่นอบ ส่วนกล้วยน้ำว้าไส้เหลืองจะเหมาะสำหรับกินสด กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยทอด แป้งกล้วย หรือทำได้ทุกอย่างไม่มีข้อจำกัด ในการแปรรูปกล้วยเพื่อเป็นการค้า กล้วยน้ำว้าไส้เหลืองเหมาะที่สุดเนื่องจากมีผลผลิตมาก ดูแลดีๆ จะได้ถึง 10-15 หวี ต่อเครือ ซึ่งกลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้ขาว คือ มะลิอ่องทำไม่ได้ บำรุงให้ดียังไงผลผลิตก็เทียบกันไม่ได้ เพราะเป็นไปตามลักษณะสายพันธุ์"
กล้วยน้ำว้าไส้เหลือง
ใช้งานได้ครอบจักรวาล
สถานี วิจัยปากช่อง ได้ปรับปรุงพันธุ์กล้วยน้ำว้า ปากช่อง 50 ซึ่งเป็นกล้วยน้ำว้าไส้เหลืองขึ้นมา เนื่องจากกล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้เหลืองสามารถนำมากินสดก็ได้ แปรรูปได้ทุกอย่าง และยังมีผลผลิตที่ดกเหมาะสำหรับการปลูกเพื่อการค้าอีกด้วย กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เกิดจากการนำสายพันธุ์กล้วยน้ำว้าทั่วประเทศมาปลูกทดลอง แล้วคัดพันธุ์ขึ้นมา เนื่องจากการผสมพันธุ์กล้วยยากมาก นักวิชาการจะไม่ใช้วิธีการผสมพันธุ์กล้วย เมื่อคัดต้นกล้วยน้ำว้าที่มีคุณสมบัติดีที่สุดแล้วก็นำมาขยายพันธุ์ด้วยการ เพาะเนื้อเยื่อ นำมาปลูกทดลองในสถานีวิจัยปากช่อง โดยการปลูกเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่นอย่างละ 20 ต้น และมีการนำผลผลิตมาเปรียบเทียบกันในแต่ละฤดูกาลอีกด้วย อาจารย์กัลยาณีกล่าวว่า "ในช่วงฤดูร้อน เมื่อเทียบกับ 5-6 สายพันธุ์ กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ยังเด่นกว่า ฤดูฝนไม่ต้องกล่าวถึง เพราะปากช่อง 50 ดกกว่า ในฤดูหนาวโดยรวมผลผลิตไม่ค่อยดีก็ยังดีกว่าตัวอื่น การเปรียบเทียบสายพันธุ์นี้ไม่ใช่ทำแค่ 1-2 ปี แต่ได้ปลูกเปรียบเทียบมาเกือบ 10 ปีแล้ว ทำมาครั้งละ 1-2 ไร่ ผลผลิตก็ยังสม่ำเสมอเหมือนเดิม ในการปลูกเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตไม่ใช่เปรียบเทียบแค่ระหว่างต้นต่อต้น แต่ต้องเปรียบเทียบอย่างน้อย 10-20 ต้น และเปรียบเทียบในทุกช่วงฤดูกาล" อาจารย์กัลยาณี เล่าว่า เคยมีเกษตรกรบางคนบอกว่ากล้วยน้ำว้าของเขามีผลผลิตมากกว่ากล้วยน้ำว้า ปากช่อง 50 คือได้เครือละ 15 หวี แต่พอซักเข้าจริงๆ มีแค่ครั้งเดียวและก็ต้นเดียว ซึ่งเป็นเพราะสภาพต้นที่สมบูรณ์มาก ไม่ได้มีจำนวนมากถึงเป็นหลายสิบต้นที่มีความสมบูรณ์เหมือนๆ กัน
เปรียบเทียบระหว่าง
หน่อกล้วยกับกล้วยปั่นตา
การ คัดพันธุ์เพื่อหากล้วยน้ำว้าที่มีผลผลิตดีที่สุดของสถานีวิจัยปากช่อง ใช้เวลาเกือบ 10 ปี ก็เหนื่อยพอแล้ว แต่ยังต้องเหนื่อยต่อไปอีก เพราะเรื่องยังไม่จบ ในการปลูกกล้วยเกษตรกรมักเคยชินกับการปลูกกล้วยด้วยหน่อ เนื่องจากเห็นว่าขนาดของหน่อใหญ่กว่ากล้วยที่ได้จากการปั่นตามาก ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าใจว่ากล้วยที่ปลูกจากหน่อโตเร็วกว่ากล้วยที่มาจาก การปั่นตา และถ้าสถานีวิจัยปากช่องขุดหน่อกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 มาขาย คงจะไม่เพียงพอให้แก่เกษตรกรทั้งประเทศแน่นอน จึงต้องนำกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 มาปั่นตา อาจารย์กัลยาณีก็ต้องเหนื่อยอีกรอบ โดยการทำแปลงทดลองระหว่างกล้วยที่ขุดหน่อมาปลูก กับกล้วยที่มาจากการเพาะเนื้อเยื่อว่าแบบไหนดีกว่ากัน โดยปลูกหน่อกล้วยสูง 1 เมตร กับกล้วยปั่นตาสูง 50 เซนติเมตร ปรากฏว่า ปลูกครบ 4 เดือน สูงเท่ากันเลย เพียงแต่ในช่วงแรกต้นกล้วยที่ได้จากการปั่นตาต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ที่ ใกล้ชิด คือต้องมีการรดน้ำ ถากหญ้า ใส่ปุ๋ย พอต้นลอกคราบเปลี่ยนใบใหม่ต้นกล้วยก็จะเจริญเติบโตอย่างเร็ว ส่วนกล้วยหน่อหลังจากการปลูกแล้วจะแตกใบแรก แล้วต้นยังนิ่งอยู่ เพราะต้องรอสร้างรากก่อน เนื่องจากกล้วยที่ขุดหน่อมักจะไม่มีราก ใบใหม่จึงชะงักอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วจะไปโตทันกันเมื่อครบ 4 เดือน
เทคนิคการปลูกและการไว้หน่อ
การ ขุดหลุมปลูกกล้วยก็ต้องพิถีพิถัน ไม่ใช่การขุดรูฝังกล้วย แต่ต้องขุดเป็นหลุม 50 เซนติเมตร ทั้งกว้าง ยาว ลึก แล้วใส่ก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก รากของกล้วยหยั่งลึกอยู่ประมาณ 50 เซนติเมตร รากของกล้วยก็เหมือนคน พอมันรุดหน้าไปเจอดินแข็งๆ เพราะเราขุดหลุมนิดเดียวมันก็ถอยกลับแล้วไชขึ้นด้านบน โคนก็ลอย เมื่อเป็นกอใหญ่ๆ ก็ล้มลง แต่การขุดหลุมให้ใหญ่แล้วเอาปุ๋ยหมักลงดินด้านล่างจะซุยรากก็จะแทงลงดิน การขุดหลุมเป็นการลงทุนเพิ่มหรือเพิ่มเวลาทำก็จริง แต่ได้ประโยชน์มากเพราะกล้วยจะเป็นกอขนาดใหญ่ อยู่ได้ 5-6 ปี ถ้าขุดหลุมปลูกเล็กเมื่อกล้วยเป็นกอจะเจอปัญหาโคนลอยและล้มไปในที่สุด
อีก อย่างหนึ่งที่อาจารย์กัลยาณีแนะนำคือ การไว้หน่อของกล้วยน้ำว้า โดยปกติชาวบ้านจะไว้หน่อกล้วยทุกหน่อที่เกิดข้างต้นแม่ การมีหน่อมากๆ เหมือนแม่มีลูกมาก ก็จะแย่งอาหารกินกัน ทำให้ต้นและผลไม่สมบูรณ์ แต่อาจารย์แนะนำว่าปลูกกล้วยไปแล้ว 6 เดือน ถึงจะไว้หน่อได้ 1 หน่อ พอหน่อนี้อายุได้ 3 เดือน ก็จะไว้อีก 1 หน่อ นอกนั้นตัดทิ้งให้หมด เพราะฉะนั้นกล้วยแต่ละกอจะมีไม่เกิน 4 ต้น การดูแลตัดใบที่เสียออกก็เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้กอโปร่ง ถ้าในตอนกลางวันมีแสงลอดเข้าไปถึงโคนกอกล้วย ก็ถือว่าโปร่งเพียงพอ และการหมุนเวียนของอากาศก็จะดี เพราะกล้วยไม่มีหน่อหรือใบมากจนเกินไป แต่การตัดแต่งใบต้องระวังถ้าเหลือใบต่ำกว่า 7 ใบ ต้นจะไม่พอเลี้ยงลูก การปลูกกล้วยน้ำว้าดีกว่ากล้วยหอม หรือกล้วยไข่ เพราะสามารถทำเป็นกอได้ และการปลูกกล้วยไข่และกล้วยหอมไม่จำเป็นต้องขุดหลุมใหญ่ เพราะผลมันจะสมบูรณ์แค่ 2 รุ่น ก็จะต้องล้มต้นปลูกใหม่
โรคตายพราย
โรค ตายพราย เป็นโรคที่ต้องระวังมากในกล้วยน้ำว้า เพราะถ้าเป็นในแปลงเมื่อไหร่จะไม่สามารถปลูกกล้วยน้ำว้าได้อีกในระยะ 10-20 ปี เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวังเรื่องหน่อพันธุ์ที่ซื้อมา ต้องไว้ใจได้ว่าไม่ได้ขุดหน่อมาจากแปลงที่มีปัญหาเรื่องโรคตายพราย สำหรับการปลูกเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนหรือขายเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่จำเป็นนัก แต่ถ้าเป็นการปลูกเพื่อเป็นการค้าขนาดใหญ่การใช้ต้นกล้วยพันธุ์ที่ปั่นตาจะ ไม่มีปัญหาเหล่านี้ สนใจรายละเอียดมากกว่านี้ติดต่อได้ที่ สถานีวิจัยปากช่อง โทร. (044) 311-796 ในวันและเวลาราชการ
http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=22646.0;
ลักษณะเด่นคือ เครือใหญ่ร้ำหนักมากกว่า 30 กิโลกรัม ( ไม่รวมก้านเครือ ) จำนวนหวีมากกว่า
10 หวี จำนวนต่อหวีประมาณ 18 ผล จำนวนผลต่อหวี 18 ผล ผลกล้วยใหญ่อ้วนน้ำหนักผลโดยเฉลี่ยประมาณ 140 กรัม/ผล
เทคโนโลยีการเกษตร
องอาจ ตัณฑวณิช ชมรมการจัดการทรัพยากรเกษตร www.ongart04@yahoo.com
กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50
เมื่อ ปีที่ผ่านมาในวงการกล้วยน้ำว้าฮือฮาถึงกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง พ่อค้าหน่อกล้วยตามงานเกษตรต่างๆ เอากล้วยน้ำว้าเครือขนาดใหญ่มาโชว์ให้ลูกค้าชมแล้วก็ขายหน่อ พร้อมขยายสรรพคุณซะเลอเลิศว่า ขนาดของเครือมีขนาดใหญ่ จำนวนหวีก็มากแต่ละหวีก็มีผลกล้วยมาก จึงทำให้มีคนซื้อกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องไปมากมาย เพราะเห็นขนาดใหญ่ของเครือและหวี ราคาค่อนข้างแพงถึงต้นละ 80-120 บาท ผมก็หลงซื้อมา เพราะหลงนิยายพ่อค้ากล้วยกับเขาด้วยเช่นกัน จนกระทั่งได้ไปเจอผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วย จึงรู้ว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องคือ อะไร เรื่องกล้วยๆ ไม่น่าต้มกันได้
อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส นักวิชาการเกษตร 8 ชำนาญการ ของสถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องกล้วยน้ำว้า เพราะอาจารย์เป็นผู้รวบรวมพันธุ์กล้วย โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าทุกสายพันธุ์ในประเทศไทย มาปลูกในสถานีวิจัยปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อการศึกษาและคัดสายพันธุ์ทำให้ทราบถึงความเป็นมาเป็นไปของกล้วยน้ำว้า ที่ปลูกกันอยู่ในบ้านเรา อาจารย์กัลยาณี บอกกับเราว่า "กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง เป็นชื่อทางเหนือ แปลว่า ขาว เพราะไส้กล้วยมะลิอ่องจะขาว แต่ทางเมืองนนท์จะเรียกกล้วยชนิดนี้ว่า กล้วยน้ำว้าสวน ซึ่งจะมีลักษณะลูกเล็กสั้นๆ ป้อมๆ ในแต่ละหวีมีไม่กี่ผล เครือมีขนาดเล็ก คนซื้อเลยกลายเป็นเหยื่อของคนขายพันธุ์ไม้ คนที่ยังไม่รู้ก็คิดว่ากล้วยมะลิอ่องเป็นกล้วยเครือใหญ่ เคยเห็นตามงานพ่อค้าก็เอากล้วยน้ำว้าเครือใหญ่มาแขวน แล้วบอกว่า กล้วยมะลิอ่อง ทำให้คนเข้าใจว่ากล้วยมะลิอ่องเป็นกล้วยเครือใหญ่ก็ซื้อหาเอาไปปลูกกัน ก็ไม่ได้ไปแย้งเขา" พอรู้เรื่องนี้ก็นึกภาพออกได้ว่า กล้วยมะลิอ่องนี้ก็เป็นกล้วยน้ำว้า ซึ่งเมื่อ 20 ปีก่อนมีขายในกรุงเทพฯ ขนาดลูกเล็กๆ ป้อมๆ อย่างที่อาจารย์ว่าจริง ชาวสวนแถบเมืองนนท์นำมาขาย เมื่อเทียบกับกล้วยน้ำว้าอื่นที่มีขนาดใหญ่ดูน่ากินกว่า ทำให้กล้วยน้ำว้าสวนดูเหมือนกับกล้วยเกร็นขนาดเล็กไม่น่าซื้อ กล้วยสวนของเมืองนนท์ก็เลยหายไป เพราะหวีดูไม่สวย แต่สาเหตุที่สำคัญน่าจะเป็นเพราะราคาที่ดินที่สูงขึ้น ทำให้เรือกสวนเมืองนนท์หายไป แต่ถ้าถามถึงความอร่อย กล้วยสวนจะมีรสชาติอร่อยกว่ากล้วยหวีใหญ่
ปรับปรุงพันธุ์กล้วยน้ำว้า
เพื่อการค้า
ด้วย การที่อาจารย์กัลยาณีเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกล้วยน้ำว้า จึงมีผู้ประกอบการรายหนึ่งเขามาปรึกษาเรื่องเกี่ยวกับกล้วยน้ำว้าว่า เขาทำกล้วยแผ่นอบส่งออกไปประเทศทางยุโรป ตอนแรกทำไม่มากนัก ส่งออกก็ไม่มีปัญหา แต่พอตอนหลังเพิ่มจำนวนส่งออกมากขึ้น มีปัญหาว่าทางยุโรปตีกลับเพราะหาว่าเอากล้วยแผ่นอบเก่าส่งไปให้ แต่ผู้ประกอบการรายนี้ยืนยันนอนยันว่าเป็นกล้วยใหม่ทำส่งไปให้ เพราะเขาเป็นผู้ทำและเป็นผู้ควบคุมการผลิตเองทั้งหมด อาจารย์กัลยาณีถามคำแรกเลยว่า คุณรู้จักกล้วยน้ำว้าแค่ไหน ผู้ประกอบการรายนี้บอกว่า ใครส่งกล้วยน้ำว้ามาผมก็ซื้อหมด ขอให้เป็นกล้วยน้ำว้า "ไม่ได้ค่ะ" อาจารย์กัลยาณีบอกกับเขา แล้วชี้แจงให้ฟังว่า "กล้วยน้ำว้าในประเทศไทยที่ได้ศึกษามี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้แดง กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้ขาว กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง สำหรับกลุ่มแรกคือ กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้แดงมีผลดก ไส้กลางข้างในค่อนข้างแข็งหรือมีความฝาดสูง เหมาะสำหรับเอาไปทำกล้วยเชื่อมหรือข้าวต้มมัด เพราะไส้จะค่อนข้างแข็งไม่เละ ถ้าเอาผลสุกไปทำกล้วยบวชชีจะมีรสฝาดเจือ ไม่ค่อยอร่อย และถ้าเอาไปทำกล้วยตากจะมีสีคล้ำเหมือนกล้วยเก่า อย่างที่ผู้ประกอบการรายนี้เจอปัญหา เพราะเอากล้วยน้ำว้าไส้แดงไปทำ ผู้ซื้อจึงตีกลับมาทั้งๆ ที่ทำใหม่ เพราะเอากล้วยน้ำว้าคละไส้ไปทำ ทั้งๆ ที่ทำเทคนิคเดียวกัน ล็อตเดียวกัน แต่สีมันต่างกัน ซึ่งเกิดจากกล้วยที่มีไส้ต่างกัน แต่กล้วยน้ำว้าไส้แดงนำไปทำกล้วยอบน้ำผึ้งได้"
กลุ่มที่สองคือ กล้วยน้ำว้าไส้ขาวและกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง อาจารย์กัลยาณีแนะนำให้ใช้ 2 พันธุ์นี้ สำหรับนำไปทำกล้วยแผ่นอบ โดยแนะนำว่า "กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเป็นกล้วยน้ำว้าไส้ขาว เมื่อนำไปทำเป็นกล้วยแผ่นอบสีจะเหลืองสวย ไม่เหลืองมากเหมือนกลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง ซึ่งกล้วยน้ำว้าไส้ขาวนี้เหมาะสำหรับทำกล้วยตาก กล้วยแผ่นอบ ส่วนกล้วยน้ำว้าไส้เหลืองจะเหมาะสำหรับกินสด กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยทอด แป้งกล้วย หรือทำได้ทุกอย่างไม่มีข้อจำกัด ในการแปรรูปกล้วยเพื่อเป็นการค้า กล้วยน้ำว้าไส้เหลืองเหมาะที่สุดเนื่องจากมีผลผลิตมาก ดูแลดีๆ จะได้ถึง 10-15 หวี ต่อเครือ ซึ่งกลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้ขาว คือ มะลิอ่องทำไม่ได้ บำรุงให้ดียังไงผลผลิตก็เทียบกันไม่ได้ เพราะเป็นไปตามลักษณะสายพันธุ์"
กล้วยน้ำว้าไส้เหลือง
ใช้งานได้ครอบจักรวาล
สถานี วิจัยปากช่อง ได้ปรับปรุงพันธุ์กล้วยน้ำว้า ปากช่อง 50 ซึ่งเป็นกล้วยน้ำว้าไส้เหลืองขึ้นมา เนื่องจากกล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้เหลืองสามารถนำมากินสดก็ได้ แปรรูปได้ทุกอย่าง และยังมีผลผลิตที่ดกเหมาะสำหรับการปลูกเพื่อการค้าอีกด้วย กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เกิดจากการนำสายพันธุ์กล้วยน้ำว้าทั่วประเทศมาปลูกทดลอง แล้วคัดพันธุ์ขึ้นมา เนื่องจากการผสมพันธุ์กล้วยยากมาก นักวิชาการจะไม่ใช้วิธีการผสมพันธุ์กล้วย เมื่อคัดต้นกล้วยน้ำว้าที่มีคุณสมบัติดีที่สุดแล้วก็นำมาขยายพันธุ์ด้วยการ เพาะเนื้อเยื่อ นำมาปลูกทดลองในสถานีวิจัยปากช่อง โดยการปลูกเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่นอย่างละ 20 ต้น และมีการนำผลผลิตมาเปรียบเทียบกันในแต่ละฤดูกาลอีกด้วย อาจารย์กัลยาณีกล่าวว่า "ในช่วงฤดูร้อน เมื่อเทียบกับ 5-6 สายพันธุ์ กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ยังเด่นกว่า ฤดูฝนไม่ต้องกล่าวถึง เพราะปากช่อง 50 ดกกว่า ในฤดูหนาวโดยรวมผลผลิตไม่ค่อยดีก็ยังดีกว่าตัวอื่น การเปรียบเทียบสายพันธุ์นี้ไม่ใช่ทำแค่ 1-2 ปี แต่ได้ปลูกเปรียบเทียบมาเกือบ 10 ปีแล้ว ทำมาครั้งละ 1-2 ไร่ ผลผลิตก็ยังสม่ำเสมอเหมือนเดิม ในการปลูกเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตไม่ใช่เปรียบเทียบแค่ระหว่างต้นต่อต้น แต่ต้องเปรียบเทียบอย่างน้อย 10-20 ต้น และเปรียบเทียบในทุกช่วงฤดูกาล" อาจารย์กัลยาณี เล่าว่า เคยมีเกษตรกรบางคนบอกว่ากล้วยน้ำว้าของเขามีผลผลิตมากกว่ากล้วยน้ำว้า ปากช่อง 50 คือได้เครือละ 15 หวี แต่พอซักเข้าจริงๆ มีแค่ครั้งเดียวและก็ต้นเดียว ซึ่งเป็นเพราะสภาพต้นที่สมบูรณ์มาก ไม่ได้มีจำนวนมากถึงเป็นหลายสิบต้นที่มีความสมบูรณ์เหมือนๆ กัน
เปรียบเทียบระหว่าง
หน่อกล้วยกับกล้วยปั่นตา
การ คัดพันธุ์เพื่อหากล้วยน้ำว้าที่มีผลผลิตดีที่สุดของสถานีวิจัยปากช่อง ใช้เวลาเกือบ 10 ปี ก็เหนื่อยพอแล้ว แต่ยังต้องเหนื่อยต่อไปอีก เพราะเรื่องยังไม่จบ ในการปลูกกล้วยเกษตรกรมักเคยชินกับการปลูกกล้วยด้วยหน่อ เนื่องจากเห็นว่าขนาดของหน่อใหญ่กว่ากล้วยที่ได้จากการปั่นตามาก ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าใจว่ากล้วยที่ปลูกจากหน่อโตเร็วกว่ากล้วยที่มาจาก การปั่นตา และถ้าสถานีวิจัยปากช่องขุดหน่อกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 มาขาย คงจะไม่เพียงพอให้แก่เกษตรกรทั้งประเทศแน่นอน จึงต้องนำกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 มาปั่นตา อาจารย์กัลยาณีก็ต้องเหนื่อยอีกรอบ โดยการทำแปลงทดลองระหว่างกล้วยที่ขุดหน่อมาปลูก กับกล้วยที่มาจากการเพาะเนื้อเยื่อว่าแบบไหนดีกว่ากัน โดยปลูกหน่อกล้วยสูง 1 เมตร กับกล้วยปั่นตาสูง 50 เซนติเมตร ปรากฏว่า ปลูกครบ 4 เดือน สูงเท่ากันเลย เพียงแต่ในช่วงแรกต้นกล้วยที่ได้จากการปั่นตาต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ที่ ใกล้ชิด คือต้องมีการรดน้ำ ถากหญ้า ใส่ปุ๋ย พอต้นลอกคราบเปลี่ยนใบใหม่ต้นกล้วยก็จะเจริญเติบโตอย่างเร็ว ส่วนกล้วยหน่อหลังจากการปลูกแล้วจะแตกใบแรก แล้วต้นยังนิ่งอยู่ เพราะต้องรอสร้างรากก่อน เนื่องจากกล้วยที่ขุดหน่อมักจะไม่มีราก ใบใหม่จึงชะงักอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วจะไปโตทันกันเมื่อครบ 4 เดือน
เทคนิคการปลูกและการไว้หน่อ
การ ขุดหลุมปลูกกล้วยก็ต้องพิถีพิถัน ไม่ใช่การขุดรูฝังกล้วย แต่ต้องขุดเป็นหลุม 50 เซนติเมตร ทั้งกว้าง ยาว ลึก แล้วใส่ก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก รากของกล้วยหยั่งลึกอยู่ประมาณ 50 เซนติเมตร รากของกล้วยก็เหมือนคน พอมันรุดหน้าไปเจอดินแข็งๆ เพราะเราขุดหลุมนิดเดียวมันก็ถอยกลับแล้วไชขึ้นด้านบน โคนก็ลอย เมื่อเป็นกอใหญ่ๆ ก็ล้มลง แต่การขุดหลุมให้ใหญ่แล้วเอาปุ๋ยหมักลงดินด้านล่างจะซุยรากก็จะแทงลงดิน การขุดหลุมเป็นการลงทุนเพิ่มหรือเพิ่มเวลาทำก็จริง แต่ได้ประโยชน์มากเพราะกล้วยจะเป็นกอขนาดใหญ่ อยู่ได้ 5-6 ปี ถ้าขุดหลุมปลูกเล็กเมื่อกล้วยเป็นกอจะเจอปัญหาโคนลอยและล้มไปในที่สุด
อีก อย่างหนึ่งที่อาจารย์กัลยาณีแนะนำคือ การไว้หน่อของกล้วยน้ำว้า โดยปกติชาวบ้านจะไว้หน่อกล้วยทุกหน่อที่เกิดข้างต้นแม่ การมีหน่อมากๆ เหมือนแม่มีลูกมาก ก็จะแย่งอาหารกินกัน ทำให้ต้นและผลไม่สมบูรณ์ แต่อาจารย์แนะนำว่าปลูกกล้วยไปแล้ว 6 เดือน ถึงจะไว้หน่อได้ 1 หน่อ พอหน่อนี้อายุได้ 3 เดือน ก็จะไว้อีก 1 หน่อ นอกนั้นตัดทิ้งให้หมด เพราะฉะนั้นกล้วยแต่ละกอจะมีไม่เกิน 4 ต้น การดูแลตัดใบที่เสียออกก็เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้กอโปร่ง ถ้าในตอนกลางวันมีแสงลอดเข้าไปถึงโคนกอกล้วย ก็ถือว่าโปร่งเพียงพอ และการหมุนเวียนของอากาศก็จะดี เพราะกล้วยไม่มีหน่อหรือใบมากจนเกินไป แต่การตัดแต่งใบต้องระวังถ้าเหลือใบต่ำกว่า 7 ใบ ต้นจะไม่พอเลี้ยงลูก การปลูกกล้วยน้ำว้าดีกว่ากล้วยหอม หรือกล้วยไข่ เพราะสามารถทำเป็นกอได้ และการปลูกกล้วยไข่และกล้วยหอมไม่จำเป็นต้องขุดหลุมใหญ่ เพราะผลมันจะสมบูรณ์แค่ 2 รุ่น ก็จะต้องล้มต้นปลูกใหม่
โรคตายพราย
โรค ตายพราย เป็นโรคที่ต้องระวังมากในกล้วยน้ำว้า เพราะถ้าเป็นในแปลงเมื่อไหร่จะไม่สามารถปลูกกล้วยน้ำว้าได้อีกในระยะ 10-20 ปี เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวังเรื่องหน่อพันธุ์ที่ซื้อมา ต้องไว้ใจได้ว่าไม่ได้ขุดหน่อมาจากแปลงที่มีปัญหาเรื่องโรคตายพราย สำหรับการปลูกเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนหรือขายเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่จำเป็นนัก แต่ถ้าเป็นการปลูกเพื่อเป็นการค้าขนาดใหญ่การใช้ต้นกล้วยพันธุ์ที่ปั่นตาจะ ไม่มีปัญหาเหล่านี้ สนใจรายละเอียดมากกว่านี้ติดต่อได้ที่ สถานีวิจัยปากช่อง โทร. (044) 311-796 ในวันและเวลาราชการ
http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=22646.0;
Saturday, February 19, 2011
Thursday, February 17, 2011
ผักไฮโดรโปนิกส์ Nutrient Film Technique (NFT)
เป็นการปลูกโดยให้รากพืชแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายธาตุอาหารจะไหล่ผ่านรากพืชเป็นแผ่นฟิมล์บางๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
Tuesday, February 15, 2011
ผักไฮโดรโปนิกส์ การปลูกพืชแบบระบบ DRFT
DRFT เป็นระบบปลูกที่มีถาดปลูกทำด้วยโฟมเจาะรูปลูกพืช ที่มีลักษณะเหมือนกับระบบ DFT คือมีระดับของสารละลายธาตุอาหารพืชที่สูง แต่จะเพิ่ม
1. อุปกรณ์สำหรับปรับระดับของสารอาหาร ให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของพืชในถาดปลูก
2. อุปกรณ์สำหรับเติมอากาศในสารอาหาร
หลักการทำงานของระบบ DRFT คือ
1. สารละลายและอากาศจะไหลวนผ่านรากพืชในถาดปลูก แล้วไหลลงสู่ถังบรรจุสารอาหาร ซึ่งฝังดินอยู่ ต่ำกว่าถาดปลูก สารอาหารนี้จะถูกส่งกลับขึ้นไปยังถาดปลูกแบบหมุนเวียนโดยปั๊มน้ำ
2. ขณะที่สารละลายไหลขึ้นสู่ด้านหัวถาดปลูกก่อนให้พืชใช้ จะต้องผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “ หัวพ่นอากาศ “ ที่ทำให้เกิดอากาศผสมกับสารละลายธาตุอาหารแบบเติมอากาศในสารอาหาร
3. ก่อนที่สารละลายจะไหลลงสู่ด้านล่าง ด้านท้ายถาดปลูกจะต้องไหลผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “สะดือปรับระดับน้ำ ที่สามารถปรับระดับสูงต่ำของสารละลายในถาดปลูกได้ตามการเจริญของรากพืช
ระบบนี้เหมาะกับ ผักไทย
ที่มา : การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. ดร.ดิเรก ทองอร่าม
Monday, February 14, 2011
ผักไฮโดรโปนิกส์ ec meter DiST 4 สำหรับวัดค่าสารละลาย
ค่า EC ที่ต้องการ | แม่ปุ๋ย A | แม่ปุ๋ย B | น้ำทั้งหมด(รวมแม่ปุ๋ย A B แล้ว) | สำหรับปลูกผัก |
1.5 | 15 ซีซี | 15 ซีซี | 5 ลิตร | สลัด |
1.8 | 18 ซีซี | 18 ซีซี | 5 ลิตร | สลัด |
3.0 | 30 ซีซี | 30 ซีซี | 5 ลิตร | กวางตุ้ง |
4.5 | 45 ซีซี | 45 ซีซี | 5 ลิตร | คะน้า |
Friday, February 11, 2011
Tuesday, February 8, 2011
ผักไฮโดรโปนิกส์ การผสมปุ๋ยน้ำ ผง EC = 1.5 ขั้นที่ 4
4.1 นำแม่ปู๋ย A และ B มารอไว้
4.2 นำขวดน้ำเปล่าขนาด 5 ลิตร หรือ 6 ลิตรมาใส่น้ำสะอาดประมาณ 1/2 ขวด โดยเขียนข้างขวดว่า ปุ๋ย EC 1.5
4.3 นำไซริง ดูดแม่ปุ๋ย A จำนวน 15 ซีซี ใส่ลงในขวดปุ๋ย EC 1.5
4.4 เชย่าให้ทั่วกัน 1 นาที
4.5 นำไซริง ดูดแม่ปุ๋ย B จำนวน 15 ซีซี ใส่ลงในขวดปุ๋ย EC 1.5
4.6 เขย่าให้ทั่วกัน 1 นาที
4.7 เติมน้ำให้ครับ 5 ลิตร
ตามขั้นตอนดังกล่าวจะได้ปุ๋ยน้ำ EC = 1.5 สามารถนำไปปลูกผักที่ต้องการ EC = 1.5 ได้ เช่น สลัดต่างๆ
ข้อควรระวัง
1.แม่ปุ๋ย และ ปุ๋ยที่ผสมแล้ว ต้องเก็บไว้ในที่ร่ม
2.ทำฉลาก ติกที่ขวดให้ชัดเจน ว่าเป็นปุ๋ย ห้ามนำไปรับประทาน และ ควรเก็บไว้พ้นมือเด็ก
3.ค่า EC จะไม่เท่ากับ 1.5 มีหลายสาเหตุ เช่น น้ำที่ผสมแม่ปุ๋ย น้อยหรือ มากว่า 5 ลิตร
4.ปุ๋ย A และ ปุ๋ย B จะผสมกันได้ในกรณีเจือจางเท่านั้น ถ้าเข้มข้นจะทำให้เกิดตะกอน และ คุณค่าทางอาหารตจะลดลงไป
5.ตารางการผสมปุ๋ยให้ได้ ค่า EC ที่แตกต่างไป
ค่า EC ที่ต้องการ | แม่ปุ๋ย A | แม่ปุ๋ย B | น้ำทั้งหมด(รวมแม่ปุ๋ย A B แล้ว) | สำหรับปลูกผัก |
1.5 | 15 ซีซี | 15 ซีซี | 5 ลิตร (3ccต่อ1ลิตร) | สลัด |
1.8 | 18 ซีซี | 18 ซีซี | 5 ลิตร | สลัด |
3.0 | 30 ซีซี | 30 ซีซี | 5 ลิตร | กวางตุ้ง |
4.5 | 45 ซีซี | 45 ซีซี | 5 ลิตร | คะน้า |
ค่า EC ของผัก และ การผสมสารละลาย
ตารางแสดง ค่า EC ของผักแต่ละชนิด และอัตราการผสมสารละลาย
ชนิดของผัก | ค่า EC | ปริมาณน้ำ | สารละลาย A | สารละลาย B |
ผักคะน้า | 4.5 | 10 ลิตร | 90 ซีซี | 90 ซีซี |
ผักกวางตุ้ง | 3 | 10 ลิตร | 60 ซีซี | 60 ซีซี |
กวางตุ้งฮ่องเต้ | 2 | 10 ลิตร | 40 ซีซี | 40 ซีซี |
ผักโขม | 1.8 | 10 ลิตร | 36 ซีซี | 36 ซีซี |
ผักสลัด | 1.5 | 10 ลิตร | 30 ซีซี | 30 ซีซี |
ผักกาดหอมห่อ | 1 | 10 ลิตร | 20 ซีซี | 20 ซีซี |
ชุดเล็กสุดๆๆ
สั้งซื้อ ปุ๋ย ไฮโดรโปนิกส์ A B แบบผงผสมได้ A 1 ลิตร B 1 ลิตร ราคา 250 ส่งแบบ ems
ผสมแม่ปุ๋ย B ความเข้มข้น 1:200 ขั้น 3
3.1 นำขวดน้ำเปล่าขนาด 5 ลิตร หรือ 6 ลิตรมาใส่น้ำสะอาดประมาณ 1/2 ขวด โดยเขียนข้างขวดว่า แม่ปุย B 1:200
3.2 จากนั้นนำปุยผง B (โปแตสเซียมไนเตรท,แมกนีเซียมซัลเฟต,โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต,แมงกานีส,จุลธาตุรวม)ใส่ลงไปในขวด
3.3 ปิดฝาแล้งเขย่าให้เข้ากัน ไม่ให้มีปุ๋ยที่ไม่ละลาย ในขณะที่เขย่าจะพบว่าขวดเริ่มเย็นลง
3.4 เติมน้ำให้ครบ 5 ลิตร
3.2 จากนั้นนำปุยผง B (โปแตสเซียมไนเตรท,แมกนีเซียมซัลเฟต,โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต,แมงกานีส,จุลธาตุรวม)ใส่ลงไปในขวด
3.3 ปิดฝาแล้งเขย่าให้เข้ากัน ไม่ให้มีปุ๋ยที่ไม่ละลาย ในขณะที่เขย่าจะพบว่าขวดเริ่มเย็นลง
3.4 เติมน้ำให้ครบ 5 ลิตร
ผสมแม่ปุ๋ย A ความเข้มข้น 1:200 ขั้นที่ 2
2.1 ทำกรวยน้ำพลาสติค นำขวดน้ำที่ไม่ใช้แล้ว ตัดครึ่ง เป็น 2 ส่วน
2.2 นำขวดน้ำขนาด 5 ลิตร หรือ 6 ลิตร ที่ไม่ได้ใช้งาน นำน้ำสะอาดมาบรรจุลงประมาณ 1/2 ขวด โดยเขียนข้างขวดว่า แม่ปุย A 1:200
2.3 จากนั้นนำปุ๋ยผง A (แคลเซียมไนเตรท,ธาตุเหล็ก)ใส่ลงไปในขวด
2.4 ปิดฝาแล้งเขย่าให้เข้ากัน ไม่ให้มีปุ๋ยที่ไม่ละลาย ในขณะที่เขย่าจะพบว่าขวดเริ่มเย็นลง
2.5 เติมน้ำให้ครบ 5 ลิตร
2.2 นำขวดน้ำขนาด 5 ลิตร หรือ 6 ลิตร ที่ไม่ได้ใช้งาน นำน้ำสะอาดมาบรรจุลงประมาณ 1/2 ขวด โดยเขียนข้างขวดว่า แม่ปุย A 1:200
2.3 จากนั้นนำปุ๋ยผง A (แคลเซียมไนเตรท,ธาตุเหล็ก)ใส่ลงไปในขวด
2.4 ปิดฝาแล้งเขย่าให้เข้ากัน ไม่ให้มีปุ๋ยที่ไม่ละลาย ในขณะที่เขย่าจะพบว่าขวดเริ่มเย็นลง
2.5 เติมน้ำให้ครบ 5 ลิตร
ขั้นตอนการผสมปุ๋ย ขั้นที่ 1
หลังจากได้รับปุ่ยมาแล้วให้ตรวจสอบรายการดังนี้
1.ป๋ย A ประกอบด้วย - แคลเซียมไนเตรท
- ธาตุเหล็ก
2.ปุ๋ย B ประกอบด้วย - โปแตสเซียมไนเตรท
- แมกนีเซียมซัลเฟต
- โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต
- แมงกานีส
- จุลธาตุรวม
3.ไซริง 10 ซีซี
4. เอกสารคู่มือการผสมปุ๋ย
วิธีการสั้งซื้อ http://www.hydroponics.in.th/index.php/topic,16.0.html
1.ป๋ย A ประกอบด้วย - แคลเซียมไนเตรท
- ธาตุเหล็ก
2.ปุ๋ย B ประกอบด้วย - โปแตสเซียมไนเตรท
- แมกนีเซียมซัลเฟต
- โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต
- แมงกานีส
- จุลธาตุรวม
3.ไซริง 10 ซีซี
4. เอกสารคู่มือการผสมปุ๋ย
วิธีการสั้งซื้อ http://www.hydroponics.in.th/index.php/topic,16.0.html
Saturday, February 5, 2011
Wednesday, February 2, 2011
สูตรปุ๋ยผักสลัด
ปุ๋ย A
เหล็ก EDDHA 50 กรัม
เหล็ก DTPA 50 กรัม
………………………………………………..
ปุ๋ย B
โปแตสเซียมไนเตรท 590 กรัม
แมกนิเซียมซัลเฟต 590 กรัม
โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต 270 กรัม
ธาตุอาหารรอง RMX 21 80 กรัม
………………………………………………..
สูตรปุ๋ยผักจีน
………………………………………………..
ปุ๋ย A
แคลเซียมไนเตรท 1,100 กรัม
เหล็ก EDDHA 20 กรัม
เหล็ก DTPA 50 กรัม
………………………………………………..
ปุ๋ย B
โปแตสเซียมไนเตรท 700 กรัม
แมกนิเซียมซัลเฟต 500 กรัม
โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต 150 กรัม
โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต 50 กรัม
ธาตุอาหารรอง RMX 21 80 กรัม
………………………………………………..
วิธีทำ
1. ชั่งปุ๋ยตามสูตรที่เราต้องการจะใช้ โดยสูตรปุ๋ยมีมากมายหลายสูตร ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ด้วยว่าจะใช้สูตรอะไร
2. นำแกลลอน 5 ลิตร จำนวน 2 ใบ ใส่น้ำลงในแกลลอนๆ ละ 1.5 ลิตร แล้วทำเครื่องหมาย A หนึ่งแกลลอน B หนึ่งแกลลอน
3. นำส่วนผสมของปุ๋ย A ใส่ลงไปในแกลลอน A นำส่วนผสมของปุ๋ย B ใส่ลงไปในแกลลอน B
4. เขย่าให้ส่วนผสมละลาย
5. เติมน้ำให้ได้ปริมาณ 5 ลิตรทั้ง 2 แกลลอน
หมายเหตุ ถ้าต้องการให้ส่วนผสมละลายเร็วให้ใช้น้ำร้อน เมื่อผสมปุ๋ยเสร็จแล้วให้เก็บไว้
ในที่มืดอุณหภูมิห้อง จะเก็บไว้ได้นานเป็นปี
อ้างอิงจากเวบ
สูตรปุ๋ยผักสลัด - Phutalay Hydroponics
Subscribe to:
Posts (Atom)