Monday, July 30, 2012

สูตรปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์ (ผักสลัด) NFT 1/2010

อัตรา 1:100
STOCK A 10 ลิตร
  แคลเซียมไนเตรท (15-0-0)            1150 กรัม
     เหล็ก ดีพี ( Fe-DTPA 7%)             20 กรัม
     เหล็กเวสโก้ ( Fe-EDTA 13.2%)       40 กรัม
     เหล็กอาจมีการปรับเปลี่ยนชนิดที่ใช้ตามสมควร

STOCK B 10 ลิตร
  โปแตสเซียมไนเตรท ( 13-0-46)         600 กรัม
  แมกนีเซียมซัลเฟต                          500 กรัม
  โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต ( 0-52-34)   265 กรัม
  นิค-สเปรย์                                   50 กรัม
  แมงกานิส อีดีทีเอ ( Mn-EDTA 13 %)    10 กรัม

เมี่ยงปลาทู กับ ผักกาดหอมที่ปลูกเอง


ผักกาดหอมที่ปลูกเอง


จัดเป็นจานครบเซต


ถ่ายพร้อมผักสลัด กรีนโอ๊ค ฟิลเลย์ บัตเตอร์เฮต


Sunday, July 29, 2012

กล้าผักไฮโดรโปรนิกส์ ปลูกด้วยฟองน้ำ


กล้าผักกาดหอม ใส่ไว้ 3 เมล็ดต่อฟองน้ำ


ถ่ายด้านข้าง กล้าคล้ายกล้ากรีนโอ๊ค


กล้าผักคะน้า อัตราการงอก ไม่ค่อยเท่ากัน


กล้าผักกาดขาว งอกไม่เท่ากัน


งอกไม่เท่ากัน อาจจะกดเมล็ดลึกไป


ผักกาดหอม งอกสวยงาม


งอกทั้งแผ่นเท่ากันหมด


ผักกาดขาวงอกไม่เท่ากัน

ผักกรีนโอ๊ค กับ ผักกาดหอม

                                            ฟูดีจังผักหน้าฝน

Saturday, July 28, 2012

อุปกรณ์ไฮโดรโปนิกส์

        อุปกรณ์ไฮโดรโปนิกส์ มีหลากหลายราคาในท้องตลาด บ้าง
คนก็ซื้อชุดสำเร็จรูปมาปลูก ที่มีขายตามท้ิองตลาด ซึ่งมีราคา
หลักพัน ถึงหลักหลายพัน ซึ่งก็มีราคาแพงอยู่ระดับหนึ่ง แต่ด้วย
ความคิดเห็นส่วนตัวของผม ควรจะสร้างเองมากกว่าซื้อ แค่มีความ
รู้ว่าจะใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ในการทำระบบปลูกซึ่งไม่ยากมากอะไร
เช่น ปั๊มในระบบปลูกก็คือปั๊มตู้ปลาธรรมดาหาซื้อง่าย ระบบปลูกที่
ใช้รางปลูก ก็สามารถใช้กล่องโฟมราคาไม่แพงแค่หลักร้อย ก็ทำได้
แล้ว ใช้ฟองน้ำในการเพาะ  เมล็ดก็สามารถใช้เมล็ดผักไทย ทั่ว
ไปได้  ที่เหล์ออยู่ที่การลองผิดลองถูก จะเกิดความชำนาญจน
ปลูกได้




ปล. ทำเองสนุกที่สุดครับผม

วีธีทำฟองน้ำสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ช่องละ 1 นิ้ว

ตัดแนวยาวก่อน

ตัดแนวข้าง

แทงตรงกลางให้ทะลุไปอีกฝั่ง

Friday, July 27, 2012

วีธีการเตรียมสารละลายธาตุอาหารก่อนปลูก

   เติมสารละลาย A ในอัตราส่วน 1:100ใส่ลงในถังจ่ายธาตุอาหาร
ตัวอย่างเช่น มีน้ำในระบบ 20 ลิตรตอนแรก ก็เติม A 100 CC.

  จากนั้น 2-3 ชั่วโมง เติมสารละลาย B จำนวนเท่ากันลงถังจ่ายธาตุ
อาหารเดิม กรณีที่มีการเติมน้ำเปล่าลงไปหลังจากปลูกไปสักพัก
น้ำจะลดลง

   ให้ทำการเติมสารละลาย  A  และ B เพิ่มตามอัตราส่วน
5 CC. ต่อน้ำ 1 ลิตร  ในกรณีที่ปุ๋ยเป็นอัตราส่วน 1:100 ให้ เติม 10 CC.
ต่อน้ำ 1 ลิตร


   5 cc ต่อ  1 ลิตร เป็นอัตราสมมุติ ของการเติม ต้องดูตาราง อัตราเติมอีกที
ว่าผักแต่ละชนิดใช้เท่าไร ถ้าผักสลัด แค่ 2.5 cc ต่อ 1 ลิตร
   ดูได้ที่นี้ >>> อัตราการเติม

หมายเหตุ ถ้าเป็นโต๊ะปลูกขนาดเล็กควรหยุดปั๊มน้ำก่อนแล้วใส่สารละลาย
A แล้วคนให้ละลายแล้วตามด้วยสายละลาย B แล้วคนจนละลายทั่ว แล้วค่อย
เปิดปั๊มน้ำจ้า

Monday, July 23, 2012

ฟาร์มไฮโดรโปนิกส์

แบ่งตามระบบใหญ่ๆ มี 2 อย่าง คือ ปิด กับ เปิด
      1. ระบบปิด ฟาร์มจะมีการป้องกันแมลงด้วยมุ่ง และ ควบคุม
อุณหภูมิ ด้วยระบบ evap เพื่อให้ผักได้อยู่ในอากาศเย็น
      2. ระบบเปิด ฟาร์มจะเปิดโล่ง มีเฉพาะการพรางแสง
และป้องกันแมลงด้วย วิธีธรรมชาติ บางฟาร์มอาจป้องกัน
ด้วยกางมุง ทำให้ผักเย็นด้วยการสเปย์น้ำ

แบ่่งอีกแบบ ตามระบบน้ำ
      1.น้ำตื้น ระบบน้ำจะบาง หนาไม่เกิน .5 cm มีอัตราการไหลที่ไว
      2.น้ำลึก ระบบน้ำจะหนาบางตามอายุผัก อัตราการไหลจะไม่เร็วมาก
แต่ปริมาณน้ำบนโต๊ะเยอะมาก


ปล. ขอดีของเสียแต่ละระบบไม่เหมือนกัน

หมูกระทะ ที่ใส่ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์

น้ำหวานมาก

Friday, July 20, 2012

บัตตาเวีย 4 สัปดาห์

แดงดีจริง ปลูกช่วงหน้าฝนก็แดงเหมือนเดิม

คอสอายุ 4 สัปดาห์ ของ Enza

ใบจะมีเยอะ และไม่ยืด เพราะของ Enza จะไม่ไวแสง

ทดสอบปลูก pak choi ในระบบไฮโดรโปนิกส์


ผักสลัดบัตเตอร์เฮดไฮโดรโปนิกส์ อายุ 9 วัน

ลักษณะเริ่มแรกคล้าย กรีนโอ๊ค แต่มี 4 ใบ
เหมือนกัน
ใบที่ 3 เริ่มแดงให้เห็น บัตตาเวีย

ผักสลัดกรีนโอ๊คไฮโดรโปนิกส์ อายุ 9 วัน

ผักปลูกมาได้ 9 วัน จะมีใบที่ 4 โผ่ลมาให้เห็น

เมล็ดผักสลัดที่ส่งให้ลูกค้า

                                  ตัวอย่างการแพคส่งลูกค้า

Thursday, July 19, 2012

ผักไฮโดรโปนิกส์

โดยส่วนใหญ่คนจะปลูกอยู่ประมาณ 6 ชนิดแค่นี้ 
นอกจากจากนั้นความนิยมของตลาดมีน้อย

stat